วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

บรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนการสอน

บรรยากาศในชั้นเรียน
            บรรยากาศ หมายถึง ความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ส่วนคำว่าสภาพแวดล้อม หมายถึง สภาวะต่างๆ ที่แวดล้อมมนุษย์อยู่ สภาวะดังกล่าวเป็นสภาวะของสิ่งต่างๆ ทั้งทางธรรมชาติและสังคมที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์ มีทั้งที่ดีและไม่ดี ดังนั้น บรรยากาศจัดการเรียนการสอนเป็นสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่งและเป็นที่ยอมกรับกันว่าบรรยากาศที่ดีเป็นผลมาจากการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นผลมาจากการมีบรรยากาศที่ดีด้วยเช่นกัน
            บรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเรียนในชั้นเรียน ซึ่งไม่ใช่สภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่านั้น แต่รวมถึงระดับของอารมณ์และความรู้สึกด้วย (Good 1976 : 106) ส่วนสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน หมายถึง สภาวะที่อยู่รอบตัวผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งเกื้อหนุนให้ผู้เรียนและผู้สอนทำงานด้วยกันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สื่อสารระหว่างกันจนเกิดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดี
            โดยความสำคัญของสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียน ซึ่งสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนจะเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของปฏิสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ถ้าสภาพแล้วล้อมดีจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และส่งผลต่อพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น อารมณ์ สังคม เป็นต้น ซึ่งการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนควรมีลักษณะเป็นดังนี้
  1. ที่นั่งสบายแสงสว่างเพียงพอ
  2. ผู้สอนส่งเสริมให้กำลังใจ
  3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำงานด้วยตนเอง
  4. ผู้สอนสั่งงานชัดเจน
  5. ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อความพยายามของตนเอง
  6. ห้องเรียนมีระเบียบมีการพักในบางโอกาส
ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนประกอบด้วย สภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ และสภาพแวดล้อมเชิงปฏิสัมพันธ์ โดยการจัดสภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ หมายถึง ลักษณะของห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยปกติผู้เรียนจะใช้เวลาอยู่ในห้องเรียนหลายชั่วโมง ลักษณะของห้องเรียนจึงควรอยู่ในสภาพที่ดีที่ผู้เรียนอยากเข้ามาอยู่และอยู่ด้วยความสบายทั้งทางกายและทางใจ ส่วนการจัดสภาพแวดล้อมเชิงปฏิสัมพันธ์ หมายถึง สภาพหรือบรรยากาศของห้องเรียนที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน รวมทั้งนักเรียนกับนักเรียน โดยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนอาจเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก เช่น บรรยากาศของห้องเรียนอบอุ่น เป็นมิตร คุ้นเคย เป็นกันเอง  หรืออาจเป็นความสัมพันธ์เชิงลบ เช่น มีความเย็นชา ขาดการสื่อสารที่ดี บรรยากาศเป็นเผด็จการ หรือปล่อยเสรี ซึ่งในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจะส่งผล ให้เกิดการพัฒนาการด้านจิตใจและสังคมของผู้เรียน อำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนบรรลุผล ส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการของผู้เรียน พัฒนาทักษะในการกำกับการเรียนด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันในบรรยากาศที่อบอุ่นและเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

การจัดการชั้นเรียน
            การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ที่สำคัญ ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้เรียน ผู้สอนต้องพยายามบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินด้วยความราบรื่น เรียบร้อย และเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน คือ พฤติกรรมของผู้สอนในการดำเนินกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้ของของนักเรียน เป็นการกระทำทุกอย่างของผู้สอนที่จะทำให้ห้องเรียนมีระบบระเบียนที่ดี ที่จะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการปฏิบัติกิจกรรมและการสร้างสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยองค์ประกอบที่ควรคำนึงในการจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย จัดมุ่งหมายการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาสาระของบทเรียน วัยของผู้เรียน จำนวนผู้เรียน และขนาดลักษณะของห้องเรียน
เทคนิคการบริหารจัดการชั้นเรียน
1.       ผู้สอนบอกหรือสื่อสารให้ผู้เรียนทราบเกี่ยวกับระเบียน กฎเกณฑ์ต่างๆ ในการทำงาน
2.       ผู้สอนใช้พฤติกรรมทางกายหรือภาษาท่าทางช่วยในการควบคุมชั้นเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัย
3.       การใช้เวลาของผู้สอน ควรใช้เวลาสอนให้มากและไม่เสียเวลากับการจัดการห้องเรียน
4.    การทำงานกับผู้เรียน ผู้สอนควรทำงานกับผู้เรียนทั้งชั้น สามารถสั่งและควบคุมงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ปล่อยให้นักเรียนคนใดคนหนึ่งไม่ปฏิบัติกิจกรรมหรือไม่ทำงาน
5.       การควบคุมพฤติกรรมที่เหมาะสม ผู้สอนต้องสามารถใช้วิธีห้ามพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้เรียนโดยคำนึงถึงวัยของผู้เรียน
6.       การสื่อสารของผู้เรียนให้ผู้เรียนทราบว่าผู้สอนมุ่งหวังอะไรในการเรียนการสอน
จากเทคนิคการบริหารจัดการชั้นเรียนผู้สอนกับงานสอนและการบริหารจัดการชั้นเรียน จึงต้องมีการเตรียมการสอน โดยต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน ศึกษาหาแหล่งสื่อการเรียนการสอน และฝึกทำอุปกรณ์หรือสื่อการสอน เพื่อให้การสอนราบรื่น รวมถึงผู้สอนต้องมีภาระหน้าที่ในการประเมินผลการสอนเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : รศ.ดร.สิริวรรณ ศรีพหล

แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการสอน
       แนวคิดเกี่ยวกับการสอน เป็นศิลป์และศาสตร์ของการสอน  ซึ่งเป็นการเรียนสอนในฐานะวิชาชีพชั้นสูง ที่ต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจงโดมีจุดมุ่งหมายการสอนที่เน้นการสอนไม่ใช่แค่เพียงการสอนที่เป็นการให้ความรู้ที่ครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดวิทยาการซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนเพียงทางเดียวที่เรียกว่า Teaching แต่เป็นการเรียนการสอนที่มีวิทยาการในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ 2 ทาง เรียกว่า Instruction โดยคำสำคัญที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ประกอบด้วย ทฤษฎีการสอน แนวคิดทางการสอน ระบบการสอน หลักการสอน ทักษะการสอน เทคนิคการสอน และนวัตกรรมการสอน ซึ่งการพัฒนาการและแนวคิดเกี่ยวกับการสอน แบ่งได้เป็นแนวคิดทางอนุรักษ์นิยม ที่เน้นทางด้านการเรียนรู้แบบเดิมๆ ที่เน้นถึงการเรียนรูป การทำให้ดู(สาธิต) และการท่องจำ แนวคิดทางเสรีนิยมเป็นการเน้นการเรียนการสอนที่ลงมือปฏิบัติที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       แนวคิดเกี่ยวกับการสอน เป็นแบบหรือแผนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบการสอน ประกอบด้วย กลุ่มรูปแบบการสอน มีลักษณะการจัดกลุ่มหลายรูปแบบเช่น การจัดกลุ่มตามแนวความคิดของจอยส์และเวลเป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาปฎิสัมพันธ์ พัฒนากระบวนการคิด พัฒนาบุคลิกภาพ และพัฒนาพฤติกรรม กลุ่มการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีรูปแบบการสอนแบ่งเป็นรูปแบบการสอนตามแนวพุทธวิธีและการคิดแบบโยนิโสมนสิการ การเรียนการสอนแบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การสอนโดยใช้โครงการ การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ การเรียนรู้จากาการทำงาน การเรียนรู้โดยการสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา การสอนแบบอิงประสบการณ์ การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ และการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ซึ่งในการสอนแต่ละวิธีสามารถมีกิจกรรมที่สามารถใช้เสริมในการเรียนการสอนดังนี้ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการแสวงหาความรู้  กิจกรรมที่เกี่ยวกับการนำเสนอผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสังเกต กิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกับกลุ่ม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดและดำเนินงานอย่างมีระบบ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการประเมิน

การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นการจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนแสดงหาความรู้และพัฒนาความรู้ด้วยตัวเอง ต้องมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีการตื่นตัวทั้งด้านกาย สติปัญหา อารมณ์ ลังคมและกิจกรรมในการเรียนรู้โดยมีบทบาทดังกล่าวมากกว่าผู้สอน โดยมีการส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการเรียนรู้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพทั้งนี้ผู้สอนต้องจักสภาพแวดล้อมภาระงานหรือชินงานไห้แก่ผู้เรียน โดยมีรูปแบบหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วย
การสอนตามแนวพุทธวิธีและการคิดแบบโยนิโสมนสิการ  หมายถึง หลักการสอนและวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนแก่บุคคลประเภทต่างๆทั้งที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและจากการประยุกต์พุทธวิธีสอน โดยนักวิชาการศึกษา ซึ่งวิธีการสอนตามแนวพุทธวิธี มี 10 วิธี คือ แบบบรรยาย แบบไตรสิขา  แบบธรรมสากัจฉา แบบอริยสัจสี่ แบบปุจฉาวิสัชนา แบบสืบสวนสอบสวนตามแนวพุทธศาสตร์ แบบเบญจขันธ์ แบบพหูสูต แบบอุปมาอุปมัย และแบบกระบวนการการเผชิญสถานการณ์ ในแต่ละรูปแบบมีประเภทของวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ แบบสืบสาวเหตุปัจจัย แบบแยกแยะส่วนประกอบ แบบสามัญลักษณ์ แบบแก้ปัญหา แบบอรรถธรรมสัมพันธ์ แบบคุณโทษและทางออก แบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม แบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน และแบบวิภัชวาท
       การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (Self Study) มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนดังนี้ การจัดการเรียนการสอนโดยการทดลอง การจัดการเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา  การวิเคราะห์โดยการสืบสวนสอบสวน วิธีการสอนโดยการศึกษานอกสถานที่ วิธีการสอนโดยใช้ชุดการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการสอนโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์
การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning  : PBL) เป็นการเรียนการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ปัญหาที่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมหรือในวิชาชีพเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนหาความรู้เองแทนที่ผู้สอนจะทำหน้าที่เป็น Tutor หรือ Facilitator ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้
การสอนโดยใช้โครงการ (Project-Based Learning) เป็นลักษณะบูรณาการเนื้อหาหลายรายวิชารวมกันทั้งด้านทฤษฏี และปฏิบัติ โดยผู้สอนมีหน้าที่จัดเตรียมสถานการณ์ สื่อ และเครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำงานจนบรรลุเป้าหมายของโครงการ  โดยประเภทของโครงการแบ่งตามสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้แบ่งลักษณะโครงการไว้ 4 ประเภท ได้แก่ 1.โครงการประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล (Survey Project)  2.โครงการประเภททดลอง (Experimental Project) 3.โครงการประเภทประดิษฐ์(Developmental)  4. โครงการประเภทสร้างทฤษฎีหรืออธิบาย(Theoretical Project)
การเรียนรู้โดยการสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา(Crystal-Approach Learning)  เป็นการสร้างองค์ความด้วยตนเอง คิดเอง และทำเอง จนเกิดการตกผลึกเป็นความคิดของตนเองโดยเริ่มจากการรวบรวม ทำความใจ สรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ จากการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-Based Learning) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้านการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฎิบัติจริง การฝึกทักษะทางสังคม การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาทักษะวิชาชีวิต การพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือกับหน่วยงานที่มักอยู่ในชุมชน หรือหน่วยงานมีการร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถาบันโดยร่วมกันกำหนดเนื้อหา
การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research –Based Learning) เป็นการเรียนรู้ทีเน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ขึ้นโดยสัมพันธ์ สิ่งที่พบกับความรู้เดิมจึงเป็นการเรียนรู้การตีความหมายที่แท้จริง
การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experienced Instruction) เป็นวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์เดิมหรือการสะท้อนกลับความรู้ ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆเน้นที่กระบวนการเรียนรู้มากกว่าผลการปฏิบัติ เทคนิคได้แก่ การใช้สถานการณ์จำลอง การใช้เกม การใช้บทบาทสมมุติ การใช้กรณีศึกษา การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
การสอนแบบอิงประสบการณ์ (Experience – Based Approach) เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ โดยใช้ความรู้และทักษะความชำนาญตามที่จำเป็นเพื่อเผชิญ ผจญและเผด็จประสบการณ์ที่กำหนด โดยที่เป็นการผสมผสานหลายแบบ โดยจิตวิทยาสำหรับการสอนแบบอิงประสบการณ์ ได้แก่ ทฤษฎีกลุ่มเชื่อมโยงนิยม (S-R Theories) และทฤษฎีกลุ่มประสบการณ์นิยม (Field/Gestalt)
การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study) เป็นการออกแบบการสอนเป็นรายบุคคล เป็นกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์งารนการสอนที่รายบุคคลอย่างจงใจ (Deliberate Process) โดยเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการสอนรายบุคคล และจบลงด้วยการได้แผนการสอนรายบุคคลเชิงปฏิบัติ  โดยมีองค์ประกอบของการสอนรายบุคคลประกอบด้วย บทบาทของผู้เรียน บทเรียนหรือโปรแกรมการสอนรายบุคคล และกระบวนการสอนรายบุคคล ซึ่งขั้นตอนการออกแบบการสอนรายบุคคลเริ่มต้นจากการกำหนดวัตถุประสงค์หรืองานการเรียน การออกแบบการสอนและสื่อการสอนรายบุคคล การวินิจฉัยและการกำหนดการเรียน และร่างแม่แบบกระบวนการสอนรายบุคคล
ที่มา : รศ.ดร.สิริวรรณ ศรีพหล