การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งการเรียนรู้หมายถึง ผลการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวังให้นักศึกษาพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการเรียนอย่างน้อย 5 ด้าน ซึ่งมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิประเทศไทยมีอย่างน้อย 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิธีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม
2. ด้านความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้
3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจใจแนวคิด หลักการ ทฤษฎีและกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) หมายถึง ความสมารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึงภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical, Communication and Information Technology Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของระดับที่ 2 ปริญญาตรี
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการปัญหาทางด้านจริยธรรมและวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ ดุลยพินิจทางค่านิยม ด้วยวิถีทางที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างสอดคล้องกับค่านิยมพื้น ฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ แสดงออกถึงพฤติกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางค่านิยมและการจัดลำดับ ความสำคัญ แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ และบูรณาการได้อย่างสมดุลเหมาะสมระหว่างวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลและวัตถุ ประสงค์ของกลุ่ม เป็นอย่างที่ดีต่อผู้อื่น มีภาวะผู้นำในการทำงาน ในกลุ่มต่าง ๆ ในครอบครัว และชุมชน
2. ด้านความรู้ มีองค์ความรู้ในสาขา/สาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ รู้หลักและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน ตระหนักในองค์ความรู้และทฤษฎีในสาขาวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ที่เรียนในหลักสูตรวิชาชีพมีความคุ้นเคยกับพัฒนาการล่าสุดฝนระดับ แนวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขา/สาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการ ต่อยอดองค์ความรู้ ในหลักสูตรที่เตรียมนักศึกษาเพื่อปฏิบัติงานวิชาชีพ นักศึกษาจะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ เทคนิค ข้อบังคับ รวมถึงวิธีการปรับปรุงให้ทันตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยน แปลงไป
3. ด้านทักษะทางปัญญา มีความสามารถในการทำวิจับ เข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล ค้นหาแนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่กว้างขวาง และประยุกต์ข้อสรุปเพื่อแก้ไขปัญหาและข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันได้โดยไม่ต้อง อาศัยคำแนะนำจากภายนอก สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ไขได้อย่าง สร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงองค์ความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ภาคปฏิบัติและผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินใจ สามารถประยุกต์ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้เหล่านี้ในเนื้อหาสาระทาง วิชาการและวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขา/สาขาวิชาที่เรียนสำหรับ หลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่ทำอยู่เป็นประจำได้อย่างเหมาะสม และแยกแยะสถานการณ์ที่ต้องการการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมกับนำเอาความรู้ความเข้าใจในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้เพื่อสนองตอบต่อสถานการณ์เช่นนั้น
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีส่วนช่วยและเอื้อต่อ การแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในกลุ่มที่มีสถานการณ์ไม่ชัดเจน และต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดำเนินการ แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการความสนใจและกล่าว ถึงปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อศึกษาปัญหาและข้อโต้แย้งแล้ว สามารถระบุเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและประยุกต์ใช้อย่าง สร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับปัญหาและกลุ่มผู้ฟัง ที่แตกต่างกัน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นประจำในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและความคิดhttp://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42&img=&action=view
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
แผนภาพที่ 1 : มาตรฐานผลการเรียนรู้ ความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (สำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี)
ดังนั้นในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF ได้นั้นผู้สอนจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ตามที่ต้องการ ซึ่งสาระการเรียนรู้มี 3 ประเภท คือ
การเรียนรู้สาระ | ผลการเรียนรู้จากสาระ | ||||
ด้านคุณธรรม จริยธรรม | ด้านความรู้ | ด้านปัญญา | ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล | ทักษะการวิเคราะห์ | |
Cognitive Domain | |||||
Knowledge | |||||
- Fact | |||||
- Concept | |||||
- Procedures/Process | |||||
- Meta-Cognitive | |||||
Affective Domain | |||||
- Feeling | |||||
- Attitude | |||||
- Value | |||||
Psychomotor Domain | |||||
Process Skills | |||||
- Psychomotor Skills | ทักษะเชิงตัวเลข | ||||
ทักษะเทคโนโลยี | |||||
- Cognitive Skills | ทักษะเชิงตัวเลข | ||||
ทักษะการสื่อสาร | |||||
ทักษะเทคโนโลยี | |||||
- Social Skills | ทักษะการสื่อสาร |
การสอนให้สัมฤทธิ์ผล
เริ่มต้นที่ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ ระบุให้ชัดว่าต้องให้เกิดการเรียนรู้ระดับไหน จากนั้นสาระการเรียนรู้ควรจะเป็นประเภทใด ภายใต้หลักการและกระบวนการเรียนรู้ที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งได้มาจาการศึกษา วิจัย ค้นคว้าและพิสูจน์มาแล้ว มาทำการจัดทำแนวการสอนซึ่งแนวการสอนจะจัดเรียงตามเนื้อหาสาระหรือจะเรียงตามความเชื่อมโยงที่นักศึกษาควรจะเรียนรู้ได้ โดยแลกกลยุทธ์การสอน(วิธีการสอน/เทคนิค/รูปแบบ)การสอนที่เหมาะสมกับหลักการหรือกระบวนการ หลังจากการจัดการเรียนการสอนตามแผนทำการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
ที่มา : งานสัมมนา เรื่อง เทคนิคและวิธีการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องประชุมจีระ บุญมา สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร โดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี